วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2563

การทำแผนธุรกิจ การจัดการความเสี่ยง




ความพร้อมในการพัฒนาอาชีพ

by krukoy phichaphak

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความพร้อมในการพัฒนาอาชีพ 


ที่มา:https://www.google.com/search?rlz

          การพัฒนากระบวนการผลิตกระบวนการตลาดการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม/เทคโนโลยีจำเป็นที่ผู้ประกอบการอาชีพต้องศึกษาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เฉพาะเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาอาชีพ จำเป็นจะต้องรู้จักเลือกใช้แหล่งที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพได้แก่ แหล่งเรียนรู้ แหล่งเงินทุน แหล่งวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร แหล่งงาน ตลาดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาปรับใช้ได้อย่างหลากหลายสำหรับการประกอบอาชีพจำเป็นต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้เป็นไปตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผู้ประกอบการอาชีพจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่หาประสบการณ์ เพื่อความสำเร็จในงานอาชีพ


การฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพ

       ก่อนที่จะฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพจะต้องวางแผนการฝึกว่าจะฝึกอย่างไร ที่ไหน เมื่อไร วิเคราะห์ทักษะที่จำเป็นและต้องฝึกอย่างถี่ถ้วน ให้ครอบคลุมทักษะที่ต้องการฝึกและมองเป็นภาพรวมของการพัฒนาอาชีพทั้งระบบ และ สามารถวางแผนในการเลือกสถานที่ฝึกและวิธีการฝึกได้เมื่อได้มีแผนการฝึกทักษะเพื่อพัฒนาอาชีพแล้วต้องดำเนินการฝึกทักษะอาชีพตามแผนที่กำหนดไว้ควรมีการบันทึกองค์ความรู้เก็บไว้ศึกษาและเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องได้ความรู้เพิ่มขึ้น

การทำแผนธุรกิจเพื่อการพัฒนาอาชีพ

       การทำแผนธุรกิจเป็นการกำหนดแนวทางในการประกอบอาชีพไว้ล่วงหน้าโดยผ่านกระบวนการระดมความคิดจากการวิเคราะห์ชุมชนแล้วนำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของแผนธุรกิจนั้นการวิเคราะห์ชุมชนเพื่อให้ทราบถึงประเด็นปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนด้วยการศึกษาและรวบรวมข้อมูลชุมชนโดยวิธีการกลุ่มให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคนิค SWOT

(SWOT Analysis)
        S (Strengths) จุดแข็งหรือจุดเด่นของชุมชน

       W (Weaknesses) จุดอ่อนหรือข้อด้อยของชุมชน
       O (Opportunities) โอกาสที่จะสามารถดำเนินการได้
       T (Threats) อุปสรรคหรือปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของชุมชนที่ควรหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติ

วิสัยทัศน์ เป็นการกำหนดภาพในการประกอบอาชีพในอนาคต มีความเป็นไปได้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของธุรกิจในที่สุด
พันธกิจ คือ ภาระงานที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จ การวิเคราะห์พันธกิจ สามารถตรวจสอบว่าพันธกิจใดควรทำก่อนหรือหลัง

เป้าหมายหรือเป้าประสงค์ เป้าหมายในการพัฒนาอาชีพ อาจกำหนดไว้เป็นระยะสั้นหรือระยะยาวก็ได้เพราะจะส่งผลในการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้นกลยุทธ์ในการวางแผนพัฒนาอาชีพให้สำเร็จตามเป้าหมายที่ว่าไว้เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาอาชีพให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าได้ในอนาคตการวางแผนปฏิบัติการเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำแผนธุรกิจโดยจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบ โดยผู้เรียน และผู้นำชุมชน ต้องช่วยกันกำหนด

การจัดการความเสี่ยง
      เป็นการวิเคราะห์ศักยภาพและการจัดการเกี่ยวกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีสิ่งใดบ้างที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพจะได้จัดการแก้ไขความเสี่ยงเหล่านั้นเพื่อพัฒนาอาชีพให้มั่นคงความเสี่ยงหมายถึงเหตุการณ์หรือการกระทำใดๆที่อาจเกิดขึ้นภายในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน การลงทุนใดที่ไม่แน่นอนในอัตราผลตอบแทนสูงความเสี่ยงก็จะสูงตามการจัดการความเสี่ยงเป็น กระบวนการในการวิเคราะห์ประเมิน ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับกิจกรรมหน้าที่และกระบวนการทำงานเพื่อให้งานลดความเสียหายมากที่สุดผลความเสี่ยงอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจที่ขาดทุน ต่อความล้มเหลวของนโยบายหรือโครงการ และ ต่อความเชื่อถือไว้วางใจผู้ประกอบการต้องศึกษาว่าปัจจัยอะไรที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทำให้ได้เห็นภาพรวมของความเสี่ยงทั้งหมด การบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นระบบจะต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคน ผู้บริหารจะต้องสร้างความเข้าใจให้ตระหนักถึงภัยวิกฤต ความเสี่ยงต้องทำเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ มีรูปแบบที่ชัดเจน



การจัดการการผลิตและบริการ
         ผู้ประกอบอาชีพต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจัดการ การผลิตและการบริการเป็นอย่างดีดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจบนแนวคิดพื้นฐานว่าเมื่อกระบวนการดีผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะดีตามการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตเป็นการพัฒนาความสามารถของมนุษย์ในการแก้ปัญหาและสนองความต้องการอย่างสร้างสรรค์ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในกิจกรรมต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สามารถทำงานได้เร็วขึ้น ได้ปริมาณมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการใช้แรงงานคน ใครนำเทคโนโลยีมาใช้ก่อนคนอื่นถือว่าเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จก่อนคู่แข่ง การดำเนินธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องมีระบบควบคุม การจัดการการผลิตและการบริการระบบการควบคุมที่นิยมใช้มากได้แก่วงจรควบคุม PDCA (Deming Cycle) มีรายละเอียด ดังนี้

P (Planting) การวางแผน
      D (Do) การปฏิบัติ
           C (Check) การตรวจสอบ
              A (Action) การปรับปรุงแก้ไขและตั้งมาตรฐานในการทำงาน






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เรื่องการจัดการการผลิตหรือการบริการ

เรื่องการจัดการการผลิตหรือการบริการ   by  Krukoy  Phichaphak                                 ที่มา: https://www.google.com/search?rlz= ...